บ้านมินิมอล

บ้านมินิมอล

Contents

บ้านมินิมอล

บ้านมินิมอล สามเหลี่ยม Minimal Styleตกแต่งน้อยประหยัดพลังงานมากปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมถึงภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน มีความหมายต่อวิธีที่เราสร้างที่อยู่อาศัยและการใช้ชีวิตว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน บ้านจึงควรตอบสนองการใช้งานด้วยวิสัยทัศน์ใหม่ๆ  ที่ตั้งคำถามโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน

ว่าเราจะสามารถลดความร้อนในบ้านได้อย่างไร เพิ่มความอบอุ่นในช่องทางไหน โดยที่ไม่ทำร้ายโลกและไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อหาพลังงานมาใช้ในชีวิตประจำวัน หลังจากที่สถาปนิกร่วมกันพิจารณาสถานการณ์การอยู่อาศัย (ในอนาคต) จึงลองหาคำตอบกับ South House ด้วยการออกแบบตัวอาคารที่คำนึงถึง ฤดูกาล จังหวะของวัน ทิศทางของแสง ลม ความร้อน ความเย็น การจัดการพื้นที่และการผลิตพลังงาน แล้วนำมาบูรณาการเข้ากับ “ชีวิตกลางแจ้ง”

บ้านมินิมอลประหยัดพลังงาน

บ้านขนาดพื้นที่ 127 ตารางเมตรหลังนี้ สร้างอยู่ในประเทศเนเธอแลนด์ ทีมงานออกแบบต้องการเน้นเรื่องความเป็นมิตรกับโลกและประหยัดพลังงาน แต่แทนที่จะเพิ่มความยั่งยืนเพียงครึ่งทางผ่านการเลือกใช้วัสดุหรือการติดตั้งที่ชาญฉลาด สถาปนิกกลับเน้นไปที่หลักการพื้นฐานตั้งแต่การร่างภาพแรก ๆ และใช้เทคนิคทางสถาปัตยกรรมให้เต็มที่ ด้วยวิธีนี้ทำให้การเพิ่มความเย็น ลดความร้อน และการผลิตพลังงานของบ้านจึงถูกกำหนดเอาไว้ตั้งแต่แรก คลิ๊กที่นี่

บทสรุปออกมาเป็นบ้านรูปทรงสามเหลี่ยมหลังคาปั้นหนาขนาดใหญ่ ที่วางตำแหน่งของบ้านให้รับร่มเงาในฤดูร้อน และเก็บความร้อนจากแสงแดดได้มากในฤดูหนาว โดยมีเฉลียงขยายความกว้างเป็นจุดเด่นที่สุดของบ้าน  เพราะมีประตูบานเลื่อนกระจกยาวหลายเมตร ทำหน้าที่ต่อเชื่อมกับภายในบ้านจนเหมือนเป็นพื้นที่เดียวกัน หลังคาที่คลุมเฉลียงทำให้ในตอนเช้าและตอนเย็นบ้านจะค่อย ๆ สว่างขึ้นอย่างนุ่มนวล ลมไหลผ่านเข้าตัวบ้านได้เต็มพิกัด และรับแสงแดดส่องผ่านหน้าต่างที่ผนังด้านข้างด้วย บ้านจึงลดการใช้พลังงานในทุกฤดู

รอบบ้านปูกรวดหยาบสามารถเดินเท้าเปล่าให้เลือดหมุนเวียนในช่วงอากาศอุ่นๆ แต่เมืองไทยคงเดินได้แค่ช่วงเช้าก่อนแดดแรง และช่วงเย็นๆ ที่ความร้อนเริ่มคลายลง

สำหรับแปลนภายในบ้านจะเป็น open plan ดูโล่งกว้างมาก เพราะแทบไม่มีผนังแบ่งกั้นเป็นห้องเล็กห้องน้อย จะเห็นว่าห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องนอน เปิดโล่งๆ เชื่อมต่อถึงกันได้หมด สเปซในบ้านโล่งกว้างไม่มีอุปสรรคทั้งในแง่ของการใช้งานพื้นที่และสายตา เป็นการตกแต่งแบบโมเดิร์นมินิมอลที่ให้ความรู้สึกสบาย เมื่อมารวมเข้ากับงานไม้ธรรมชาติสีอ่อน ๆ โซฟาหนังสีน้ำตาล ชุดเครื่องครัวไม้ท็อปคอนกรีตสีเทาๆ ยิ่ง feel good

ความร้อนส่วนเกินจะถูกดูดซับโดยพื้นด้านใน ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวสะสมความร้อน และค่อย ๆ คายความร้อนอีกครั้งในเวลาที่อากาศเย็นขึ้น พื้นที่เป็นปูนเปลือยขัดมันเรียบตลอดทั้งผืนก็ทำให้บ้านดูกว้างและเดินได้สบายเท้าไม่ติดขัด

จากบันไดไม้ค่อย ๆ นำทางขึ้นไปชั้นลอย พื้นที่ด้านบนใช้เป็นห้องดนตรีและห้องพักที่เข้าถึงได้ง่าย สามารถปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นได้ แต่อาจจะดูขาดความเป็นส่วนตัวไปสักนิด

หลังคาใช้พลังงานแสงอาทิตย์สามแผง ด้านหน้าของแผงประกอบด้วยเซลล์สุริยะ และด้านหลังเป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อนที่เชื่อมต่อกับปั๊มความร้อน ด้วยระบบนี้ไฟฟ้าและน้ำร้อน (ประปา) จะถูกสร้างขึ้นพร้อมกัน การติดตั้งทั้งหมดรวมอยู่ในการออกแบบ จึงถูกซ่อนไว้ในมุมที่มองไม่เห็น และสามารถผลิตพลังงานส่วนเกินและจ่ายให้กับโครงการโดยรอบในระหว่างขั้นตอนการก่อสร้างของพื้นที่ใกล้เคียง

ได้ด้วยในแต่ละภูมิภาคของโลกจะมีสภาพภูมิอากาศไม่เหมือนกัน ทิศทางการเดินของแสงและลมก็ต่างกัน ดังนั้นการนำแบบบ้านที่สร้างในสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างมาใช้งานควรมีการปรับประยุกต์ให้เหมาะสม ตัวอย่างเช่น บ้านที่เหมาะกับอากาศหนาวจะมีกระจกค่อนข้างมาก เพื่อใช้เป็นต้วช่วยให้แสงแดดส่องผ่านทะลุเข้าไปสร้างความอบอุ่นภายใน ถ้าเจ้าของบ้านต้องการนำมาสร้างในบ้านเขตร้อน จะต้องเลือกวัสดุกระจกที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสง หรือหันด้านที่มีกระจกไปในทิศที่ไม่โดนแสงแรงๆ ตลอดทั้งวัน อย่างทิศเหนือหรือตะวันออก และใส่ช่องเปิดในด้านที่ลมไหลผ่าน เป็นต้น

บ้านมินิมอลที่อ่อนโยน อีกความหมายของคำว่า “บ้าน”

ชีวิตที่วุ่นวายตั้งแต่เช้าจรดเย็น ทำให้บางครั้งก็เพียงอยากหามุมสงบ ๆ ที่จะพักกายพักใจได้อย่างเป็นตัวของตัวเองจริงๆ  บ้านจึงไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดมาก ขอแค่เข้าไปภายในแล้วรู้สึกโปร่ง โล่ง และอบอุ่นก็เพียงพอแล้ว สไตล์ของบ้านที่ว่ามานี้จะตรงกับบ้านหลาย ๆ แบบ อาทิ โมเดิร์นมินิมอล นอร์ดิก และบ้านสไตล์ญี่ปุ่นแนวคิด MUJI หรือวาบิซาบิที่เห็นคุณค่าของความเรียบง่ายและความไม่สมบูรณ์แบบ สำหรับบ้านหลังนี้เป็นอีกหนึ่งรูปแบบโมเดิร์นแจแปนที่น่ารัก อ่อนโยนและชวนให้ผ่อนคลาย เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจของคนที่กำลังหาความหมายของคำว่า “บ้าน”

บ้านสไตล์ญี่ปุ่นโมเดิร์น

บ้านพื้นที่ใช้สอย 108 ตร.ม. หลังนี้ดูเรียบง่ายด้วยรูปทรงและเส้นสาย แต่กลับรู้สึก touch สายตาด้วยสีของหลังคาที่ตัดกับผนังสีขาวสะอาด รวมทั้งทางเข้าและประตูบานคู่ที่ใช้พื้นผิวที่อ่อนโยนของไม้ต้อนรับการกลับมาของสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนที่มาเยี่ยมอย่างเป็นมิตร อย่างไรก็ตามแม้ว่าสมัยนี้บ้านญี่ปุ่นที่สร้างใหม่จะนิยมหลังคากระเบื้อง ผนังปูนซิเมนต์และเหล็กเป็นวัตถุก่อสร้างหลัก ๆ แต่ถ้าเปิดประตูเข้าไปดูภายในบ้านญี่ปุ่นแล้ว จะพบว่าโครงสร้างภายในของบ้านยังมีวัฒนธรรมญี่ปุ่นดั้งเดิมแทรกซ่อนอยู่เกือบทุกบ้าน

โถงทางเข้ามีสีพื้นอบอุ่นสะดุดตา สำหรับบ้านญี่ปุ่นทางเข้าเป็น “หน้าตาของบ้าน” ที่สำคัญเช่นเดียวกับพื้นที่ใช้งานสำหรับครอบครัว เพราะเป็นส่วนที่ต้อนรับการเข้ามาตั้งแต่ก้าวแรก และเตรียมพร้อมสำหรับก้าวสุดท้ายก่อนออกไปข้างนอก นักออกแบบจึงได้วางชั้นวางเพดานสูงเพื่อให้เจ้าของบ้านสามารถแสดงวิถีชีวิตและงานอดิเรกของสมาชิกครอบครัวเอาไว้ในจุดนี้

สำหรับบ้านแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม ต้องมีห้องเล็กๆ ถัดจากประตูเข้าบ้านที่เรียกกันว่า Genkan เป็นที่ถอดรองเท้าและเป็นที่คนในบ้านจะออกมารับแขกที่เข้ามาเยี่ยมบ้าน ซึ่งจุดนี้มักจะทำให้ต่ำกว่าพื้นบ้านประมาณ 30-60 cm. นอกจากส่วน Genkan จะเป็นพื้นที่ใช้งานแบบที่ว่าแล้ว ยังเป็นจุดที่จะบังพื้นที่ใช้งานภายในบ้านจากสายตาของคนที่เข้ามา แบ่งแยกภายนอกบ้านที่เป็นที่สำหรับคนนอกหรือแขก และภายในบ้านที่เป็นของส่วนตัวออกจากกันด้วย

ถัดเข้ามาด้านในบ้านจะเห็นบันไดที่สร้างความประทับใจให้กับการตกแต่งภายใน ผ่านการทาสีดำสนิทบริเวณแม่บันไดและพุกบันไดตัดด้วยลูกนอนที่เป็นไม้อ่อน ๆ ติดราวกันตกไม้ระแนงสีอ่น ๆ เช่นกัน ทำให้บันไดโปร่งเหมือนโครงกระดูกที่เปิดให้แสงที่นุ่มนวลส่องเข้ามา ไม่เพียงแต่ใช้เป็นทางเดินเท่านั้น แต่ยังให้ความลึกที่หลากหลายเติมมิติให้กับบ้านและชีวิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย

เจ้าของบ้านมีแนวคิดว่าแทนที่จะปิดความสัมพันธ์กับภายนอกด้วยม่าน พวกเขาต้องการที่จะมีช่องเปิดให้สนทนาปราศัยกับท้องฟ้า แสง ธรรมชาติภายนอกด้วยกระจกใสให้มากที่สุด เมื่อยามค่ำมาเยือนการปิดทีวีแล้วชี้ชวนกันมองขึ้นไปบนท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว ได้ใช้เวลาห่างจากหน้าจอสร้างปฏิสัมพันธ์และอยู่ด้วยกันกับครอบครัวเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม

ห้องนั่งเล่นโทนสีสว่างอบอุ่นเป็นมุมโปรดของทุกคนในครอบครัว เป็นจุดที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใกล้ชิดกับลูกได้มากขึ้น และยังสามารถใช้เป็นห้องรับรองแขกได้ด้วย ส่วนพื้นห้องปูด้วยเสื่อทาทามิที่มีคุณสมบัติกันกระแทกสูงจึงปลอดภัยสำหรับครอบครัวที่มีทารกและเด็กเล็ก  ส่วนนี้ไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ แต่ใส่ความน่าสนุกเล็กน้อยด้วยการยกพื้นสูงขึ้นเล็กน้อย การใช้เสื่อทาทามิในบ้านนี้เป็นการย้ำว่า เสื่อทาทามิในห้องสไตล์ญี่ปุ่นเท่านั้น ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในห้องที่ตกแต่งทันสมัยได้ด้วย

ส่วนครัวไม่ได้สร้างผนังปิดกั้นเป็นห้องแยกออกไปต่างหาก แต่อยู่ในบริเวณเดียวกับส่วนใช้งานอื่น ๆ ของบ้าน เพียงแต่ก่อผนังขึ้นมาเป็นเหมือนบาร์เล็ก ๆ ภายในมีเคาน์เตอร์ 2 ด้านใส่สเปซว่างตรงกลาง ทำให้สามารถเข้าออกหมุนตัวใช้งานได้ง่าย ผนังติดกระเบื้องกันน้ำและกันความร้อนสีดำตัดเส้นสายตาให้ชัดเจนบนพื้นสีขาว จะทำให้ได้ทั้งรูปลักษณ์ที่สวยงามและการใช้งานที่พอเหมาะพอดี

การตกแต่งบ้านนั้นก็เหมือนงานศิลปะที่จะมีการแสดงอารมณ์ บุคลิกลักษณะของตัวบ้าน อย่างความอบอุ่น น่ารัก ร่าเริง สงบ หรือดิบ ผ่านสิ่งที่เรียกว่า Mood& Tone โดยหยิบจับวัสดุที่มีพื้นผิวและโทนสีต่าง ๆ มาใช้เพื่อสื่อถึงอารมณ์ ซึ่งแต่ละวัสดุก็จะมีคุณสมบัติเป็นเอกลัษณ์ต่าง ๆ กัน เช่น ไม้สีอ่อนกับไม้สีเข้ม ถึงจะให้ความรู้สึกอบอุ่น แต่ไม้สีอ่อนจะดูทันสมัย อ่อนโยน ในขณะที่สีเข้มดูขรึมและเป็นผู้ใหญ่กว่า งานผ้า งานเหล็ก คอนกรีต กระจก ก็มีบุคลิกที่ต่างกันไปเช่นกัน ดังนั้นการเลือกใช้จึงต้องมองภาพรวมให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการสื่อสาร ในบ้านสไตล์มินิมอลจะนิยมใช้โทนสีไม้และวัสดุอื่น ๆ โทนอ่อน ๆ ตัดด้วยสีเข้มอย่างสีดำในบางจุดเพื่อให้ดูโมเดิร์น เป็นต้น

Minimal Style แต่งบ้าน สไตล์มินิมอล ที่กําลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ คือสไตล์การตกแต่งที่เรียบง่าย ใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น หากแต่มากด้วยประโยชน์ รวมไปถึงการเลือกใช้งานสิ่งต่างๆ ตามความจําเป็นเท่านั้น ซึ่งจะถูกจัดวางอย่างมีระเบียบเรียบร้อย เอกลักษณ์ในการตกแต่งสไตล์มินิมอลนั้นมักจะมีโทนสีแบบโมโนโทนหรือสีอ่อนๆ

รวมถึงการออกแบบที่มีเส้นสายตาที่ตรงและชาร์ป มีความสมดุลและความผ่อน คลาย เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นที่คัดสรรมาตกแต่งในบ้านสไตล์นี้ มักจะตอบสนองการใช้งานได้อย่างครบถ้วน ท่ามกลางความไม่มากไม่น้อยจนเกินพอดี การตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอลยังนิยมที่จะจัดพื้นที่สเปสให้มีความว่างและดูกว้างเข้าไว้

โดยไม่นิยมการสะสมสิ่งของหรือข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่จําเป็น การตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอลจึงดูเรียบง่าย น้อยชิ้น แต่ทว่าครบถ้วนในเรื่องของประโยชน์การใช้สอย การตกแต่งบ้านสไตล์นี้จึงเหมาะมากๆ สําหรับหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่รักความสงบและชอบการตกแต่งบ้านที่เน้นความสะอาด ปลอดโปร่ง โล่งสบายเป็นอย่างยิ่ง เราไปดูกันดีกว่าว่าข้อดีของการมีบ้านสไตล์มินิมอลและวิธีการตกแต่งบ้านของคุณให้เป็นสไตล์นี้ จะมีอะไรและต้องทําอย่างไรบ้าง

ข้อดีของการ แต่งบ้าน สไตล์มินิมอล

ความเครียดน้อยลง

ยิ่งมีของมาก ก็ยิ่งมีภาระวุ่นวาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาต้องย้ายที่พัก ที่กว่าจะเก็บและย้ายข้าวของแต่ละทีต้องใช้เวลา แถมถ้าใครไม่มีรถส่วนตัว ก็อาจจะต้องคอยทะยอยย้ายของจากที่พักเก่า ไปยังที่ใหม่หลายรอบกว่าจะครบ ทั้งเหนื่อย ทั้งเครียด แต่ถ้าคุณมีของน้อยชิ้นที่เป็นของที่มีประโยชน์ต่อการใช้สอยจริงๆ นอกจากจะไม่ทำให้บ้านรกไปด้วยของใช้ที่ไม่จำเป็นแล้ว ยังทำให้บ้านของคุณดูเรียบง่าย เห็นแล้วรู้สึกสบายตา สบายใจได้อีกด้วยนะ

ทำให้บ้านดูน่าดึงดูดมากขึ้น

ลองนึกถึงภาพถ่ายของบ้านที่เต็มไปด้วยของใช้มากมาย กับภาพของบ้านสไตล์มินิมอลที่ดูเผินๆ แล้วดูเรียบไม่มีอะไร แต่จริงๆ แล้วแฝงไว้ด้วยความสวยงามของเฟอร์นิเจอร์เรียบหรู งานศิลปะดีๆ สักชิ้น และของตกแต่งบ้านน้อยชิ้น แต่ว่าแต่ละอันช่างดูเก๋ไก๋เหลือเกิน ซึ่งบ้านสไตล์มินิมอลแบบนี้ต่างหาก ที่เห็นเมื่อไหร่แล้วต้องทำให้เราหยุดดู ดึงความสนใจได้ดีนักเชียว ซึ่งถ้าคุณอยากให้บ้านของคุณดูน่าดึงดูดมากขึ้น ก็สามารถลองแต่งบ้านให้เป็นสไตล์มินิมอลดูได้

ทำความสะอาดได้ง่ายกว่า

แค่คิดว่าจะต้องทำความสะอาดบ้านที่เต็มไปด้วยของตกแต่ง ของใช้มากมาย ก็รู้สึกเหนื่อยแล้วใช่ไหมล่ะ เวลาจะปัดกวาด เช็ดถู หรือดูดฝุ่นที ก็เสียเวลาไปหลายชั่วโมงทีเดียว แถมยิ่งของเยอะเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งต้องหมั่นทำความสะอาดบ่อยขึ้นเท่านั้น ซึ่งสามารถนำไปสู่ข้อแรกคือ ทำให้เครียดและหงุดหงิด (เพราะใครจะอยากมานั่งทำความสะอาดบ้านบ่อยๆ?) แต่ลองนึกภาพถ้าบ้านของคุณมีของน้อยชิ้นดูสิ ทำความสะอาดแป๊ปเดียวก็เสร็จ แถมยังมีเวลาไปทำอย่างอื่นมากขึ้นอีกต่างหาก