บ้านแบบเรือนเพาะชำ
บ้านแบบเรือนเพาะชำ บ้านสวนมีใต้ถุน พื้นที่ชีวิตยกสูงล้อมสวน
บ้านแบบเรือนเพาะชำ บ้านสวนมีใต้ถุน พื้นที่ชีวิตยกสูงล้อมสวน ยังจำประสบการณ์ในวัยเด็กกันได้บ้างไหมครับ สำหรับคนที่บ้านอยู่แถบชนบทอาจจะพอระลึกถึงอาคารที่เคยอยู่หรือเคยผ่าน เป็นบ้านใต้ถุนสูงสองชั้นผนังทำจากไม้ตีเกล็ด phuket village เวลาที่อากาศร้อน ๆ ก็ออกมานั่งรับลมเย็น ๆ นอกบ้านพร้อมดื่มน้ำหวานกับขนมแสนอร่อย ซึ่งภาพแบบที่ว่าน่าจะหายไปเยอะมากแล้วในยุคนี้ เพราะรูปลักษณ์ของบ้านมีใต้ถุนดูเชยไปเสียแล้วเมื่อเทียบกับบ้านสไตล์โมเดิร์นใหม่ ๆ ทั้ง ๆ ที่บ้านใต้ถุนสูงเหมาะกับสภาพอากาศทั้งร้อนและชื้นอย่างบ้านเรามาก สำหรับคนที่ชอบบ้านแบบนี้แต่ติดที่อยากให้ดูโมเดิร์นขึ้น วันนี้ “บ้านไอเดีย” จะพาไปทัวร์บ้านใตถุนสูงที่หน้าตาทันสมัย เผื่อใครต้องการเก็บไว้เป็นแนวทางทำบ้านในฝันกันpoolvilla
Garden House เป็นบ้านสองชั้นในประเทศ COSTA RICA
หน้าตาดูไม่หวือหวา แต่ในความเรียบนี้กลับซ่อนฟังก์ชันของความความยั่งยืนเอาไว้ หากมองโดยรอบจะเห็นว่าพื้นที่แวดล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่ เจ้าของจึงต้องการที่จะสร้าง “ฟาร์ม” ส่วนตัวเล็กๆ ที่ดูสดชื่นเป็นธรรมชาติ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดที่ว่าสถาปัตยกรรมไม่ควรเป็นแค่ผนัง หน้าต่าง และหลังคา แต่ Garden House ควรเป็นโครงสร้างแบบอินเทอร์แอคทีฟที่มีไฟฟ้าและน้ำ มีความยั่งยืนทางอาหารที่ปลูกไว้ทานเอง ในขณะเดียวกันก็สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับไซต์และบริบทในทันที
จากบริเวณรั้วหน้าบ้าน จะต้อนรับการมาถึงด้วยลานกรวดให้รถวิ่งเข้ามาง่าย ๆ สองข้างทางเต็มไปด้วยต้นไม้จำพวกเฟิร์น ไม้คลุมดิน และต้นไม้นานาพันธุ์ถูกปลูกไว้ รวมทั้งบริเวณชั้นสองของบ้านที่เห็นมาแต่ไกล ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างบรรยากาศที่สดชื่นแล้ว ต้นไม้เหล่านี้ยังช่วยปกป้องบ้านจากแสงแดด ช่วยลดทอนความร้อน ภายในบ้านจึงเย็นได้ตลอดวันรีวิวบ้าน
หาดทามารินโดตั้งอยู่บนชายฝั่งแปซิฟิกเหนือของคอสตาริกา ซึ่งประสบปัญหาอุณหภูมิที่สูงขึ้นมากและเกิดภัยธรรมชาติอื่น ๆ ทั้งน้ำท่วมและภัยแล้ง ผู้คนที่อาศัยอยู่แถบนี้จึงต้องวางแผนในการสร้างบ้านและใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ในบ้านนี้มีการวางระบบบำบัดน้ำเสีย การเก็บกักน้ำ การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำร้อนโดยพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ทำให้บ้านมีความยั่งยืน นอกจากนี้ตัวบ้านยังก่อสร้างจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เลือกการยกตัวบ้านขึ้นสูงด้วยการวางบนฐานเหล็กที่กางแขนเป็นรูปตัว V เพื่อหนีน้ำและเพิ่มพื้นที่รับลมใต้อาคารมากขึ้น ในขณะที่รูปลักษณ์ดูโมเดิร์นขึ้น phuket village
ในชั้นบนออกแบบโปร่งเบา
สบายด้วยหน้าต่างและประตูกระจกบานใหญ่ที่เก็บเข้าด้านข้างได้ ภายในจึงเปิดโล่งรับลมสบาย ๆ ได้เต็มพิกัด เมื่อไม่มีผนังก็เชื่อมต่อเข้ากับระเบียงตลอดแนว ฟังก์ชันบ้านมีความยืดหยุ่นลื่นไหลและทันสมัย แต่กลับรู้สึกถึงบรรยากาศบ้านในชนบทเก่า ๆ ของไทยที่นิยมทำชานเรือนยื่นออกมานั่งเล่นพักผ่อนหน้าบ้านภายในบ้านออกแบบในลักษณะ open plan ไม่มีผนังแบ่งกั้นฟังก์ชันหลัก ๆ ของบ้าน อย่างเช่น มุมนั่งเล่น มุมทำงาน ครัว โต๊ะทานอาหาร แม้กระทั่งห้องนอน ภาพรวมจึงห้องโถงใหญ่ที่บรรจุทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับใช้ชีวิตเข้าไปในที่เดียว
ช่องแสงตามส่วนต่าง ๆ ของบ้านเป็นข้อยืนยันว่า บ้านเขตร้อนไม่จำเป็นต้องปิดบ้านเพื่อจำกัดการเข้ามาของแสง เพียงแต่ต้องใส่เอาไว้ในจังหวะที่เหมาะสม อย่างเช่น ในห้องน้ำ ทิศเหนือ ทิศตะวันออกที่แสงแดดไม่รุนแรงในส่วนที่บ้านได้รับแดดจัดในช่วงกลางวัน แต่ไม่อยากปิดบ้านทึบเพราะยังต้องรับลมเข้าไประบายอากาศ ก็เลี่ยงมาใช้การจัดสวนแนวตั้งบนแนวแผงกันตกบนระเบียง นอกจากจะช่วยกรองแสงแล้วใบไม้ที่ค่อนข้างทึบจะทำหน้าที่กรองฝุ่นพร้อมพรางสายตา เติมความเป็นส่วนตัวให้ห้องนอนได้ด้วย บ้านสวน
ใต้ถุนบ้าน เป็นพื้นที่ใช้งานกึ่งภายในและภายนอก เนื่องจากมีความโปร่งรอบด้านให้ลมพัดผ่าน และก็มีความร่มจากพื้นเพดานของชั้นบน จึงเหมาะกับภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของไทย เพราะช่องว่างด้านล่างทำให้ระบายอากาศลดชื้นและหนีน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากได้ดี พื้นที่ว่างใต้ถุนบ้านยังใช้สอยเอนกประสงค์ได้ด้วย ส่วนความสูงของพื้นบ้านนั้นสูงประมาณ 1.70 -2.50 เมตร แนะนำให้ปรึกษานักออกแบบให้สามารถดูแลง่ายและเข้าไปใช้งานได้จริง